Class Central is learner-supported. When you buy through links on our site, we may earn an affiliate commission.

Naresuan University

อารยธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น | Civilization and Local Wisdom

Naresuan University via ThaiMOOC

Overview

รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น "การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)" คำอธิบายรายวิชา อารยธรรมในยุคต่าง ๆ วิถีวัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี พิธีกรรม คติความเชื่อ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการอนุรักษ์ สืบทอด และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น (Civilizations throughout history, cultural evolution, ways of life, traditions, ritual practices, beliefs, and contributions, development are preservation of local wisdom). จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 25 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 8 ชั่วโมง 45 นาที) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (แบ่งตามประเภทของการเรียนรู้ตาม BLOOM’S TAXONOMY หรือ OUTCOME BASE) 1. ผู้เรียนให้มีความเคารพในอารยธรรมและภูมิปัญญาที่หลากหลายของ แต่ละท้องถิ่น เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม เคารพสิทธิ์และรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น 2. สามารถระบุอธิบายความหมาย วิเคราะห์ เปรียบเทียบ สังเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ 3. มีระบบคิด อย่างมีวิจารณญาณ สามารถศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาเสนอแนวทางแก้ไข 4. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย สามารถปรับตัวเข้าทำงานในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล (Asst. Prof. Dr.Wasin Panyavuttrakul) ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น E-mail : [email protected] รองศาสตราจารย์ดร.ฉลอง ชาตรูประชีวิน (Assoc. Prof. Dr.Chalong Chatruprachewin) ภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ผู้ช่วยสอน เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญากีฬาไทยและท้องถิ่น E-mail : [email protected] ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์ (Asst. Prof. Narongkan Rodsap) ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ผู้ช่วยสอน เชี่ยวชาญด้านภาษาถิ่นและภาษาชาติพันธุ์ E-mail : [email protected] อาจารย์ชนิดา เผือกสม(Mrs.Chanida Puaksom) ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ผู้ช่วยสอน เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ E-mail : [email protected] อาจารย์ศรัญญา ละม่อมสาย (Ms.Saranya Lamomsai) ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ผู้ช่วยสอน เชี่ยวชาญด้านการจัดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และสินค้าวัฒนธรรม E-mail : [email protected] นโยบายการวัดประเมินผล เกณฑ์การให้คะแนน การผ่าน/ไม่ผ่าน และใบประกาศนียบัตร (หากมี) การวัดประเมินผลการเรียนรู้ เกณฑ์การประเมินผลทั้งสิ้นร้อยละ 100 แบ่งออกเป็นการประเมินผล ดังนี้ 1. มีการประเมินผลการเข้าร่วมทำกิจกรรมและแบบฝึกหัดในแต่ละหัวข้อการเรียนรู้คิดเป็นคะแนนสะสม ร้อยละ 60 2. มีการประเมินผลแบบทดสอบท้ายบทเรียน เป็นข้อสอบแบบปรนัย ร้อย 40 3. มีการระบุเกณฑ์ ผ่าน/ไม่ผ่าน โดยมีคะแนนรวม ผ่านที่ร้อยละ 60 จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด/จำนวนหน่วยกิต (หากเป็นรายวิชาในหลักสูตรปกติ) 25 ชั่วโมง จำนวนชั่วโมง ที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/หรือต่อครั้ง 1-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ / จำนวน 9 สัปดาห์ ความรู้พื้นฐานที่ต้องมีมาก่อน (หากมี) สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมพื้นฐานทั่วไปและสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ระดับของเนื้อหารายวิชา เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา (ระบุ).......อารยธรรมและภุมิปัญญาท้องถิ่น........ ประเภทของการเรียนในรายวิชา (เรียนด้วยตนเอง เรียนแบบกลุ่ม) เรียนด้วยตนเอง ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา ระดับเบื้องต้น กลุ่มเป้าหมาย ของรายวิชา นักศึกษาระดับ ปริญญาตรีในรายวิชาพื้นฐานมหาวิทยาลัย คำแนะนำในการเรียนรู้ ผู้เรียนควรศึกษาคำแนะนำในการเรียน ก่อนที่จะศึกษาเนื้อหาบทเรียนและปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์ รวมทั้งเข้าเรียนและทำกิจกรรมครบทุกบทเรียนที่จัดขึ้น เช่น การอภิปราย การทำแบบฝึกหัด/ใบงานทุกชุด (แบบฝึกหัดมีส่วนที่คิดคะแนนและไม่คิดคะแนน เพื่อทดสอบความรู้และทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในระหว่างเรียนและเป็นการฝึกพัฒนาผู้เรียนเท่านั้น) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (ระบุเอกสาร ตำรา เว็บไซต์ ฯลฯ) ธิดา สาระยา.รัฐโบราณภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : กำเนิดและพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ,2537. ธิดา สาระยะ.อารยธรรมไทย.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2539. วศิน ปัญญาวุธตระกูล. 7 ตำนานสมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม....กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, 2558. วศิน ปัญญาวุธตะกูล. ภูมิปริทัศน์ภาคเหนือตอนล่าง สายธารอารยธรรมโขง-สาละวิน, 2556. บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข. ยล เยี่ยม เยือน เหย้า : แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2558. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาอารธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น. Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Reviews

Start your review of อารยธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น | Civilization and Local Wisdom

Never Stop Learning.

Get personalized course recommendations, track subjects and courses with reminders, and more.

Someone learning on their laptop while sitting on the floor.