Class Central is learner-supported. When you buy through links on our site, we may earn an affiliate commission.

ThaiMOOC

IoT ระบบน้ำอัจฉริยะสำหรับภาคการเกษตร | Let's Start Smart Farm with IoT

Digital Economy Promotion Agency via ThaiMOOC

Overview

IoT ระบบน้ำอัจฉริยะสำหรับภาคการเกษตรLet's Smart Farm with IoT IoT ระบบน้ำอัจฉริยะสำหรับภาคการเกษตร (Let's Smart Farm with IoT) เน้นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้เกษตรกรที่สนใจจะพัฒนาระบบน้ำให้พืชแบบอัตโนมัติ โดยใช้เซ็นเซอร์และหน่วยประมวลผลที่หาซื้อได้ง่าย พร้อมต่อการลงมือปฏิบัติในการเปลี่ยนรูปแบบแปลงเกษตรเดิมของตนเอง ให้มีความอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่องค์ประกอบของอุปกรณ์ที่จำเป็นจะต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลงเกษตรของตนเอง การกำหนดชุดคำสั่งในการสั่งงานอุปกรณ์ การทำงานของระบบ IoT การวางระบบน้ำให้เหมาะสมต่อการให้น้ำแบบอัตโนมัติ การตั้งค่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูล การแจ้งเตือนการทำงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่สะดวกและรวดเร็ว การใช้เซ็นเซอร์มาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อความแม่นยำและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การระบุตำแหน่งด้วย GPS เพื่อกำหนดจุดในการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลกับภาพภูมิอาการจากฐานข้อมูลภายนอก และการสร้างชุดควบคุมผ่านโทรศัพท์ เพื่อควบคุมอุปกรณ์การให้น้ำอัตโนมัติ ตรวจสอบสถานะการทำงานแบบทันทีทันใด รวมทั้งการเชื่อมโยงสู่เกษตรกรที่มีความต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ความเข้าใจ หรือเริ่มต้นการทำเกษตรยุคใหม่ได้ผ่านหน่วยงานสนับสนุนของ depa ดังนั้นรายวิชานี้จึงเป็นรายวิชาที่สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงแปลงเกษตรของตนเองสู่แปลงเกษตรอัจฉริยะ ลดภาระหน้าที่ในการดูแล และเพิ่มประสิทธิผลในการเพาะปลูกพืชได้ ____________________________________________________________________ LO1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานของหน่วยประมวลผล และการควบคุมอุปกรณ์ผ่านบอร์ด IoT LO2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจวิธีการให้น้ำแบบอัตโนมัติสำหรับภาคการเกษตร LO3 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำหลักการและวิธีดำเนินการต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแปลงเกษตรของตนเอง LO4 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเทคนิค เคล็ดลับไปเพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระหน้าที่การดูแล สร้างผลผลิตให้มากยิ่งขึ้นได้ ____________________________________________________________________ - ผู้เรียนมีความตั้งใจในการพัฒนาระบบให้น้ำอัตโนมัติสำหรับแปลงเกษตร ทั้งแปลงเกษตรแบบปิด และแปลงเกษตรแบบเปิด - ผู้เรียนควรมีอุปกรณ์ดิจิทัล อาทิ บอร์ด ERP32 เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ วัดแสง วัดความชื้น คอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อจะได้ทดลองปฏิบัติตามหลักสูตรได้ ____________________________________________________________________ ผู้เรียนจะต้องได้คะแนนอย่างน้อย ร้อยละ 70 โดยมีการเก็บคะแนน ดังนี้ - ทดสอบวัดความรู้ (Certificate Examination) ร้อยละ 100 ____________________________________________________________________ อ.สว่างพงศ์ หมวดเพชร บริษัท โคโมมิ จำกัด อ.ปริญญา เอกโพธิ์ บริษัท โคโมมิ จำกัด อ.นันทิพัฒน์ นาคทอง INGARAGE Assistive Technology Co.,Ltd ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อ. ยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ____________________________________________________________________ - ผู้เรียนควรจัดสรรเวลาในการเข้าใช้ระบบ เพื่อศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมตามโครงสร้างรายวิชา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง - การเรียนในภาคปฏิบัติการ ผู้เรียนควรทดลองปฎิบัติตามขั้นตอนการแนะนำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Reviews

Start your review of IoT ระบบน้ำอัจฉริยะสำหรับภาคการเกษตร | Let's Start Smart Farm with IoT

Never Stop Learning.

Get personalized course recommendations, track subjects and courses with reminders, and more.

Someone learning on their laptop while sitting on the floor.